ตั้งเว็บไซต์เป็นหน้าแรก เพิ่มเข้ารายการโปรด
ลงทะเบียน ลืมรหัสผ่าน
1 2 3 4
ดู: 672|ตอบกลับ: 0

มากินขมิ้นกันดีกว่า

[คัดลอกลิงก์]

22

กระทู้

0

ตอบกลับ

148

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

UID
1
เครดิต
148
พลังน้ำใจ
0
เงิน
126
ความดี
0
เพศ
ชาย
ตอบกลับ
0
ลงทะเบียน
2024-1-10
ล่าสุด
2024-12-14
ออนไลน์
71 ชั่วโมง
จำนวนผู้ติดตาม
0
ทักทาย
0
บล็อก
0
เพื่อน
0
สำคัญ
0
ผู้ขายเครดิต
ผู้ซื้อเครดิต
ราศีเกิด
ธนู

เข็มประดับยศ 1เข็มประดับยศ 2เข็มประดับยศ 3เข็มประดับยศ 4เข็มประดับยศ 5เข็มประดับยศ 6เข็มประดับยศ 7เข็มประดับยศ 8เข็มประดับยศ 9เข็มประดับยศ 10

อายุ
11ปี

 Phang Nga, Thailand

683.jpg
มากินขมิ้นกันดีกว่า




ขมิ้นชันสีเหลือง ๆ เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยรู้จักนำมาใช้ประโยชน์กันนานแล้ว โดยเฉพาะการนำไปประกอบอาหาร หรือแต่งสี แต่งกลิ่นให้อาหารจานเด็ด ทั้งแกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอด ฯลฯ อู้ย...ฟังชื่อแล้วชักหิวขึ้นมาซะงั้น

          แต่ช้าก่อน...วันนี้ เราไม่ได้ชวนเพื่อน ๆ มาทำอาหารที่มีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบหรอกนะจ๊ะ เพราะเราจะมาพูดถึงสรรพคุณทางยาเด็ด ๆ ของขมิ้นชันกัน พอจะรู้กันไหมเอ่ย ว่า ขมิ้นชัน ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยอะไรได้บ้าง ถ้ายังนึกไม่ออก ตามไปรู้จักขมิ้นชันให้มากขึ้นกันดีกว่า

          "ขมิ้นชัน" หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อ "ขมิ้น" คนเชียงใหม่เรียกว่า ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว ขมิ้นหยอก คนตรัง เรียก ขี้มิ้น หรือ หมิ้น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa Linn. เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิงที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกมาด้านข้าง 2 ด้าน ส่วนเนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

          ใบเดี่ยวของขมิ้นชันจะแทงออกมาจากเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันเป็นรูปหอก ขนาดใบกว้าง 12-15 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลืองอ่อน แทงออกมาจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ ปกติจะบานครั้งละ 3-4 ดอก รูปกลมมี 3 พู

          เหง้าของขมิ้นชันมีสารสำคัญประเภทเคอร์คูมินอยด์ ซึ่งเป็นสารสีเหลืองประกอบอยู่หลายตัว ทั้ง เดสเมทอกซีเคอร์คูมิน และบิสเดส เมทอกซีเคอร์คูมิน และน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารสำคัญอย่าง เทอร์เมอโรน และซิงจิเบอรีน ซึ่งสารทั้งหมดนี้ ช่วยเพิ่มสรรพคุณทางยาให้ขมิ้นชันได้อย่างดี



สรรพคุณทางยาของขมิ้นชัน

          มาดูสรรพคุณทางยาของขมิ้นชันกัน ส่วนที่ใช้ก็คือ "เหง้า" ที่มีรสฝาดนั่นเอง โดยเหง้ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ ช่วยบำรุงตับ นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และเกลือแร่ต่าง ๆ

          ส่วนน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน ก็มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุกเสียดได้ด้วย จึงนิยมนำขมิ้นมาใช้สมานแผลในกระเพาะอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร

          การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมยังพบว่า ขมิ้นมีสรรพคุณบำรุงร่างกายอีกหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศีรษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยขับน้ำนมสตรีหลังคลอดบุตร

          อ๊ะ แต่ไม่ใช่ว่า ปลูกขมิ้นแล้วจะขุดเหง้าขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีเลยนะ เพราะเหง้าที่จะนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้นั้น ต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไปด้วย ไม่เช่นนั้นน้ำมันหอมระเหยจะหายหมด ที่สำคัญต้องเก็บไว้ไม่ให้ถูกแสงแดดด้วยเช่นกัน และห้ามเก็บเกี่ยวในระยะที่ขมิ้นชันเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารเคอร์คิวมินในขมิ้นชันลดลง ซึ่งก็ทำให้สรรพคุณเด็ด ๆ ของขมิ้นชันหายไปด้วย

วิธีนำขมิ้นชันไปใช้รักษาโรค

         หากจะนำขมิ้นชันไปรับประทาน ให้นำขมิ้นชันไปล้างน้ำให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก แล้วหั่นเป็นแว่นชิ้นบาง ๆ นำไปตากแดดจัด ๆ 1-2 วัน แล้วนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ ขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย นำมารับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน จะช่วยแก้อาการดังกล่าวได้ แต่หากใครรับประทานแล้วท้องเสีย หรือมีอาการจุกเสียดแน่นท้องให้หยุดยาทันที

          นอกจากนี้ ยังสามารถนำเหง้าแก่สด ยาวประมาณ 2 นิ้ว มาขูดเปลือกออก นำไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำมารับประทาน ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

          สำหรับคนที่ซื้อขมิ้นชันแบบผงมารับประทานเอง ให้ใช้สูตรคือ ขมิ้นชันผง 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 แก้ว (ไม่เต็ม) แล้วรับประทาน ขมิ้นชันที่ไหลผ่านอวัยวะภายในต่าง ๆ สามารถบำรุงอวัยวะส่วนนั้นได้ด้วย คือ ผ่านลำคอ จะช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ลำคอ, ผ่านปอดจะช่วยดูแลปอดให้หายใจได้ดีขึ้น, ผ่านม้ามจะช่วยลดไขมัน ไม่ให้น้ำเหลืองเสีย, ผ่านกระเพาะอาหารจะช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร, ผ่านลำไส้จะช่วยสมานแผลในลำไส้ และผ่านตับก็จะช่วยบำรุงตับ ล้างไขมันในตับ

          การใช้ขมิ้นชันเป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาอาการแพ้ แก้อักเสบ ผื่นแดง แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเหง้าขมิ้นยาวประมาณ 2 นิ้ว มาฝนกับน้ำต้มสุก แล้วทาในบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือจะใช้ผงขมิ้นโรยทาบริเวณที่มีอาการผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยก็ช่วยได้เช่นกัน

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดไฟล์นี้ หากยังไม่มีบัญชี กรุณา ลงทะเบียน

×
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ธรรมสว้สดี สมัครวันนี้เพื่อสิทธิ์ใช้งาน
ตอบกระทู้ได้
ได้เพื่อน ได้พูดคุย
ร่วมกิจกรรมสนุก
ดาวน์โหลดไฟล์
สร้างบล็อกและอัพภาพถ่าย
เรียนรู้เรื่องต่างๆ
Dear Guest, thank you to www.i-520.net

เว็บไซต์นี้ มีการใช้คุกกี้ 🍪 เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)

Powered by Discuz! X3.5 © 2001-2013 Comsenz Inc

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้