ตั้งเว็บไซต์เป็นหน้าแรก เพิ่มเข้ารายการโปรด
ลงทะเบียน ลืมรหัสผ่าน
1 2 3 4
ดู: 674|ตอบกลับ: 0

ประวัติพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

[คัดลอกลิงก์]

22

กระทู้

0

ตอบกลับ

148

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

UID
1
เครดิต
148
พลังน้ำใจ
0
เงิน
126
ความดี
0
เพศ
ชาย
ตอบกลับ
0
ลงทะเบียน
2024-1-10
ล่าสุด
2024-12-14
ออนไลน์
71 ชั่วโมง
จำนวนผู้ติดตาม
0
ทักทาย
0
บล็อก
0
เพื่อน
0
สำคัญ
0
ผู้ขายเครดิต
ผู้ซื้อเครดิต
ราศีเกิด
ธนู

เข็มประดับยศ 1เข็มประดับยศ 2เข็มประดับยศ 3เข็มประดับยศ 4เข็มประดับยศ 5เข็มประดับยศ 6เข็มประดับยศ 7เข็มประดับยศ 8เข็มประดับยศ 9เข็มประดับยศ 10

อายุ
11ปี

 Phang Nga, Thailand

683.jpg
หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ



พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดำรงสมณเพศ ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน

ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลาราม เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในรูปงานเขียน โดยท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็น พุทธะ ศาสนา อย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกมากมายจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ทั้งเรื่องพุทธพาณิชย์ เรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลัทธิพราหมณ์ เรื่องความยึดมั่นถือมั่นในบุญบาป เรื่องความหลงใหลในยศลาภของพระสงฆ์ และเรื่องปลีกย่อยอื่นๆ อีกมากมาย ท่านพุทธทาสภิกขุมุ่งชี้ให้ชาวพุทธทั้งหลายเห็นถึงมิจฉาทิฐิและสีลัพพตปรามาสเหล่านี้เสมอมา ทำให้หลายคนขนานนามท่านพุทธทาสภิกขุว่าเป็น พระผู้ปฏิรูป แต่แท้จริงแล้ว คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ไม่มีอะไรนอกเหนือไปกว่าความจริงอันสูงสุดที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเลย เพียงแต่ระยะเวลาอันยาวนานได้ทำให้ความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนแปรหรือถูกเบี่ยงเบนไป ท่านพุทธทาสภิกขุจึงทำหน้าที่เสมือนผู้กลั่นให้พระพุทธศาสนากลับมาบริสุทธิ์อีกครั้ง

คำสอนจำนวนมากจากท่านพุทธทาสภิกขุเป็นธรรมะระดับโลกุตระ อันมีนิโรธเป็นรส และมีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นธรรมะขั้นสูง และไม่เหมาะกับฆราวาสผู้ยังเวียนว่ายอยู่ในวังวนแห่งโลกียะ แต่ท่านพุทธทาสภิกขุตระหนักว่าธรรมะเหล่านี้คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และพุทธมามกะไม่ว่าจะระดับชั้นใดก็ควรจะได้รับรู้ ได้รับปฏิบัติ และได้รับผลจากธรรมะเหล่านี้ ซึ่งถึงแม้จะเป็นธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง แต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจ โดยยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน คำสอนทั้งหลายของท่านพุทธทาสภิกขุ แท้จริงแล้วก็คือการสกัดพระสูตรให้ออกมาเป็นภาษาพูด และพระอภิธรรมให้ออกมาเป็นภาษาชาวบ้านนั่นเอง โดยข้อธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุเน้นย้ำมากที่สุดคือเรื่องสุญญตา จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาหลายคนเรียกท่านว่า นักรบเพื่อความว่าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุยังรวมไปถึงเรื่องพื้นฐาน เช่น เรื่องการทำงาน และเรื่องการศึกษา ซึ่งคนทั่วไปสามารถนำธรรมะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันทีนอกจากพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังมีใจเปิดกว้างทำการศึกษาคำสอนของต่างศาสนาและต่างนิกาย ด้วยความคิดว่าศาสนาทั้งหลายล้วนมุ่งหมายในสิ่งเดียวกัน ในสมัยที่ท่านพุทธทาสภิกขุจำพรรษาอยู่ที่สวนโมกขพลาราม นอกจากสาธุชนคนไทยผู้สนใจในธรรมะทั้งหลายจะแวะเวียนมาสนทนา และฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านพุทธทาสภิกขุอย่างไม่ขาดสายแล้ว ยังมีชาวต่างชาติผู้ต้องการเรียนรู้พระพุทธศาสนา นักศึกษาและอาจารย์ทางด้านศาสนศาสตร์จากต่างประเทศ รวมถึงประมุขของศาสนจักรต่างๆ แวะเวียนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็น รวมทั้งสนทนาธรรมกับท่านเป็นอันมาก ทำให้สวนโมกขพลารามเปรียบเสมือนตักศิลาสำหรับผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทำให้วงการพระพุทธศาสนากลับมาตื่นตัวอีกครั้งอ่านชีวประวัติและผลงานท่านพุทธทาสภิกขุเพิ่มเติมได้ที่   ธรรมทานมูลนิธิ





ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดไฟล์นี้ หากยังไม่มีบัญชี กรุณา ลงทะเบียน

×
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ธรรมสว้สดี สมัครวันนี้เพื่อสิทธิ์ใช้งาน
ตอบกระทู้ได้
ได้เพื่อน ได้พูดคุย
ร่วมกิจกรรมสนุก
ดาวน์โหลดไฟล์
สร้างบล็อกและอัพภาพถ่าย
เรียนรู้เรื่องต่างๆ
Dear Guest, thank you to www.i-520.net

เว็บไซต์นี้ มีการใช้คุกกี้ 🍪 เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)

Powered by Discuz! X3.5 © 2001-2013 Comsenz Inc

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้